วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557
วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557
Knowledge Management
Active Learning คือกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำและได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายใต้สมมติฐานพื้นฐาน 2 ประการคือ 1) การเรียนรู้เป็นความพยายามโดยธรรมชาติของมนุษย์, และ 2) แต่ละบุคคลมีแนวทางในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน โดยผู้เรียนจะถูกเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับความรู้(receive) ไปสู่การมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้
Analyzing Mistakes คือ การวิเคราะห์ข้อผิดพลาด หมายถึง การทำให้ผู้เรียนสามารถชี้ว่าข้อผิดพลาดของตนหรือของผู้อื่นเกิดขึ้นเพราะสิ่งใด
Brainstorming คือ เป็นกระบวนการที่มีแบบแผนที่ใช้เพื่อรวบรวมความคิดเห็น ปัญหา หรือข้อเสนอแนะจำนวนมากในเวลาที่รวดเร็ว เป็นวิธีการที่ดีในการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ และเกิดการมีส่วนร่วมของกลุ่มมากที่สุด การระดมสมองมุ่งเน้นที่จำนวนความคิด ไม่ใช่คุณภาพ
Coaching คือ การที่คนๆ หนึ่ง ช่วยให้ใครก็ตามพัฒนาขีดความสามารถในการทำงาน การสอนงานไม่ได้หมายถึงสาระของการสอนหรือบอกถึงวิธีการทำงานเท่านั้น แต่หมายรวมถึงการช่วยเหลือ การให้คำแนะนำ การให้กำลังใจ และให้โอกาสในการทำสิ่งต่างๆ ให้ดีขึน
Computer - Mediated Communications (CMC) คือ การติดต่อสื่อสารหรือการโต้ตอบปฏิสัมพันธ์ผ่านคอมพิวเตอร์ เป็นรูปแบบอย่างกว้างๆที่สามารถกำหนดการติดต่อปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปหรือเป็นเครือข่ายบนคอมพิวเตอร์
External Consultant เป็นบุคคลที่มาจากภายนอกองค์การ ถูกคัดเลือกขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการคิด วางระบบงานให้แหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์การแต่ละแห่งที่ไม่เหมือนกัน เป็นกลุ่มคนที่จะต้องติดต่อกับผู้บริหารระดับสูงขององค์การ เพื่อนำเสนอและสรุปผลการดำเนินงาน ลักษณะการจัดจ้างที่ปรึกษาภายนอกนั้นสามารถทำได้หลายลักษณะ เช่น การจ้างเป็นโครงการโดยมีระยะเวลาและผลงานที่ต้องนำส่งมอบอย่างแน่นอน หรือการจ้างแบบต่อเนื่องทำเป็นสัญญาปีต่อปี ซึ่งจะต้องเข้ามาในองค์การอย่างน้อยเดือนละสองหรือสามครั้งขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างที่ปรึกษาภายนอกและองค์การ
Learning Contract หมายถึง ข้อตกลงระหว่างผู้เรียนและผู้สอน เกี่ยวกับวัตถุประสงค์การเรียน เนื้อหา วิธีการเรียน แหล่งวิทยาการ และการวัดผล ตามความเหมาะสมของผู้เรียน โดยผู้เรียนจะต้องทำกิจกรรมให้เสร็จภายในช่วงเวลาที่กำหนด และผู้สอนจะเป็นผู้ให้คำแนะนำ ปรึกษาในด้านต่างๆ
Mentoring ระบบนี้เป็นระบบที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานที่มีประสบการณ์มากกว่ากับพนักงานที่มีประสบการณ์น้อย โดยพี่เลี้ยงหรือผู้ที่มีประสบการณ์สูงจะทำหน้าที่ในการคำปรึกษา แนะนำ ผู้สอนงาน และสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพในการทำงานให้กับพนักงานที่อ่อนประสบการณ์
network หมายถึง : เครือข่าย คอมพิวเตอร์ในกลุ่มถูกนำมาต่อเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ด้วยสายการสื่อสารโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันและกันได้
Portfolio คือแฟ้มสะสมงาน เริ่มต้นขึ้นมาจากวงการอาชีพ เช่น สถาปัตยกรรม การโฆษณา การถ่ายภาพ และวรรณกรรม เป็นต้น โดยผู้ที่มีอาชีพเหล่านี้จะรวบรวมตัวอย่างผลงานที่ดีเด่นและน่าพอใจของตนเอาไว้ โดยงานที่รวบรวมไว้นั้นต้องตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าผู้ใช้บริการ หรือนายจ้างของตน ส่วนแฟ้มสะสมผลงานของนักเรียนนั้น เป็นการรวบรวมตัวอย่างผลงานที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการสอน ผลงานที่รวบรวมแสดงให้เห็นถึงความพยายาม ความก้าวหน้า และผลสำเร็จในเรื่องต่างๆ ซึ่งในการรวบรวมผลงานดังกล่าว นักเรียนต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดเนื้อหาและเกณฑ์การคัดเลือก เกณฑ์ตัดสินคุณภาพ ตลอดจนมีโอกาสแสดงความรู้สึกต่อผลงานของตนเอง
Project work คือ การพัฒนาการทำงานเชิงโครงการ ได้แก่คุณสมบัติในการติดตามความก้าวหน้าของโครงงาน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการโครงงานได้แก่ แกนต์ชาร์ต (Gantt Chart) ซึ่งแสดงลำดับการทำงานต่างๆ ของโครงงาน ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่างๆ ด้วยกราฟแท่ง แนวนอนและแสดงสถานะของโครงงานในขณะนั้นว่าเสร็จสิ้นแล้ว, กำลังดำเนินการอยู่หรือเกินกำหนดไปแล้วได้ ทำให้สามารถคำนวณค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องได้ง่ายขึ้น
Rotating jobs คือ การหมุนเวียน เป็นการให้โอกาสพนักงานได้มีการโยกย้าย ไปทำงานอื่น และเรียนรู้งานใหม่ โดยจัดตารางเวลาการทำงานในแต่ละหน้าที่ล่วงหน้า ให้เหมาะสม เพื่อลดความจำเจในการทำงาน อีกทั้งยังทำให้พนักงานมีความรู้และ ประสบการณ์มากขี้น เช่น เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลทำหน้าที่ด้านสวัสดิการพนักงาน อาจหมุนเวียนไปเรียนรู้กิจกรรมด้านแรงงานสัมพันธ์ ด้านฝึกอบรม หรืออาจเป็นการหมุนเวียนงานข้ามหน่วยงานข้ามฝ่าย เช่น หัวหน้างานฝ่ายผลิต หมุนเวียนงานไปเป็นหัวหน้างานฝ่ายคุณภาพ เป็นต้น
Team working คือ การทำงานเป็นทีม การทำงานเป็นทีม หมายถึง การร่วมกันทำงานของสมาชิกที่มากกว่า 1 คน โดยที่สมาชิกทุกคนนั้นจะต้องมีเป้าหมายเดียวกันจะทำอะไรแล้วทุกคนต้องยอมรับร่วมกัน มีการวางแผนการทำงานร่วมกัน การทำงานเป็นทีมมีความสำคัญในทุกองค์กรการทำงานเป็นทีมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารงานการทำงานเป็นทีมมีบทบาทสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือของกลุ่มสมาชิกเป็นอย่างดี
Analyzing Mistakes คือ การวิเคราะห์ข้อผิดพลาด หมายถึง การทำให้ผู้เรียนสามารถชี้ว่าข้อผิดพลาดของตนหรือของผู้อื่นเกิดขึ้นเพราะสิ่งใด
Brainstorming คือ เป็นกระบวนการที่มีแบบแผนที่ใช้เพื่อรวบรวมความคิดเห็น ปัญหา หรือข้อเสนอแนะจำนวนมากในเวลาที่รวดเร็ว เป็นวิธีการที่ดีในการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ และเกิดการมีส่วนร่วมของกลุ่มมากที่สุด การระดมสมองมุ่งเน้นที่จำนวนความคิด ไม่ใช่คุณภาพ
Coaching คือ การที่คนๆ หนึ่ง ช่วยให้ใครก็ตามพัฒนาขีดความสามารถในการทำงาน การสอนงานไม่ได้หมายถึงสาระของการสอนหรือบอกถึงวิธีการทำงานเท่านั้น แต่หมายรวมถึงการช่วยเหลือ การให้คำแนะนำ การให้กำลังใจ และให้โอกาสในการทำสิ่งต่างๆ ให้ดีขึน
Computer - Mediated Communications (CMC) คือ การติดต่อสื่อสารหรือการโต้ตอบปฏิสัมพันธ์ผ่านคอมพิวเตอร์ เป็นรูปแบบอย่างกว้างๆที่สามารถกำหนดการติดต่อปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปหรือเป็นเครือข่ายบนคอมพิวเตอร์
External Consultant เป็นบุคคลที่มาจากภายนอกองค์การ ถูกคัดเลือกขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการคิด วางระบบงานให้แหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์การแต่ละแห่งที่ไม่เหมือนกัน เป็นกลุ่มคนที่จะต้องติดต่อกับผู้บริหารระดับสูงขององค์การ เพื่อนำเสนอและสรุปผลการดำเนินงาน ลักษณะการจัดจ้างที่ปรึกษาภายนอกนั้นสามารถทำได้หลายลักษณะ เช่น การจ้างเป็นโครงการโดยมีระยะเวลาและผลงานที่ต้องนำส่งมอบอย่างแน่นอน หรือการจ้างแบบต่อเนื่องทำเป็นสัญญาปีต่อปี ซึ่งจะต้องเข้ามาในองค์การอย่างน้อยเดือนละสองหรือสามครั้งขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างที่ปรึกษาภายนอกและองค์การ
Learning Contract หมายถึง ข้อตกลงระหว่างผู้เรียนและผู้สอน เกี่ยวกับวัตถุประสงค์การเรียน เนื้อหา วิธีการเรียน แหล่งวิทยาการ และการวัดผล ตามความเหมาะสมของผู้เรียน โดยผู้เรียนจะต้องทำกิจกรรมให้เสร็จภายในช่วงเวลาที่กำหนด และผู้สอนจะเป็นผู้ให้คำแนะนำ ปรึกษาในด้านต่างๆ
Mentoring ระบบนี้เป็นระบบที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานที่มีประสบการณ์มากกว่ากับพนักงานที่มีประสบการณ์น้อย โดยพี่เลี้ยงหรือผู้ที่มีประสบการณ์สูงจะทำหน้าที่ในการคำปรึกษา แนะนำ ผู้สอนงาน และสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพในการทำงานให้กับพนักงานที่อ่อนประสบการณ์
network หมายถึง : เครือข่าย คอมพิวเตอร์ในกลุ่มถูกนำมาต่อเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ด้วยสายการสื่อสารโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันและกันได้
Portfolio คือแฟ้มสะสมงาน เริ่มต้นขึ้นมาจากวงการอาชีพ เช่น สถาปัตยกรรม การโฆษณา การถ่ายภาพ และวรรณกรรม เป็นต้น โดยผู้ที่มีอาชีพเหล่านี้จะรวบรวมตัวอย่างผลงานที่ดีเด่นและน่าพอใจของตนเอาไว้ โดยงานที่รวบรวมไว้นั้นต้องตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าผู้ใช้บริการ หรือนายจ้างของตน ส่วนแฟ้มสะสมผลงานของนักเรียนนั้น เป็นการรวบรวมตัวอย่างผลงานที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการสอน ผลงานที่รวบรวมแสดงให้เห็นถึงความพยายาม ความก้าวหน้า และผลสำเร็จในเรื่องต่างๆ ซึ่งในการรวบรวมผลงานดังกล่าว นักเรียนต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดเนื้อหาและเกณฑ์การคัดเลือก เกณฑ์ตัดสินคุณภาพ ตลอดจนมีโอกาสแสดงความรู้สึกต่อผลงานของตนเอง
Project work คือ การพัฒนาการทำงานเชิงโครงการ ได้แก่คุณสมบัติในการติดตามความก้าวหน้าของโครงงาน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการโครงงานได้แก่ แกนต์ชาร์ต (Gantt Chart) ซึ่งแสดงลำดับการทำงานต่างๆ ของโครงงาน ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่างๆ ด้วยกราฟแท่ง แนวนอนและแสดงสถานะของโครงงานในขณะนั้นว่าเสร็จสิ้นแล้ว, กำลังดำเนินการอยู่หรือเกินกำหนดไปแล้วได้ ทำให้สามารถคำนวณค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องได้ง่ายขึ้น
Rotating jobs คือ การหมุนเวียน เป็นการให้โอกาสพนักงานได้มีการโยกย้าย ไปทำงานอื่น และเรียนรู้งานใหม่ โดยจัดตารางเวลาการทำงานในแต่ละหน้าที่ล่วงหน้า ให้เหมาะสม เพื่อลดความจำเจในการทำงาน อีกทั้งยังทำให้พนักงานมีความรู้และ ประสบการณ์มากขี้น เช่น เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลทำหน้าที่ด้านสวัสดิการพนักงาน อาจหมุนเวียนไปเรียนรู้กิจกรรมด้านแรงงานสัมพันธ์ ด้านฝึกอบรม หรืออาจเป็นการหมุนเวียนงานข้ามหน่วยงานข้ามฝ่าย เช่น หัวหน้างานฝ่ายผลิต หมุนเวียนงานไปเป็นหัวหน้างานฝ่ายคุณภาพ เป็นต้น
Team working คือ การทำงานเป็นทีม การทำงานเป็นทีม หมายถึง การร่วมกันทำงานของสมาชิกที่มากกว่า 1 คน โดยที่สมาชิกทุกคนนั้นจะต้องมีเป้าหมายเดียวกันจะทำอะไรแล้วทุกคนต้องยอมรับร่วมกัน มีการวางแผนการทำงานร่วมกัน การทำงานเป็นทีมมีความสำคัญในทุกองค์กรการทำงานเป็นทีมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารงานการทำงานเป็นทีมมีบทบาทสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือของกลุ่มสมาชิกเป็นอย่างดี
ป้ายกำกับ:
KM
Power Supply
แหล่งจ่ายไฟสำหรับคอมพิวเตอร์ หรือ พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่ออุปกรณ์เกือบทุกตัวในระบบคอมพิวเตอร์ ซัพพลายของคอมพิวเตอร์นั้นมีลักษณะการทำงาน คือทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าจาก 220 โวลต์ เป็น 3.3 โวลต์, 5 โวลต์ และ 12 โวลต์ ตามแต่ความต้องการของอุปกรณ์นั้นๆ โดยชนิดของพาวเวอร์ซัพพลาย ในคอมพิวเตอร์จะแบ่งได้เป็น 2 ชนิดตามเคส คือแบบ AT และแบบ ATX
พาวเวอร์ซัพพลาย ทั้งแบบ AT และ ATX นั้นมีลักษณะการทำงานที่เหมือนกัน คือรับแรงดันไฟจาก 220-240 โวลต์ โดยผ่านการควบคุมด้วยสวิตช์ สำหรับ AT และเมนบอร์ด แล้วส่งแรงดันไฟส่วนหนึ่งกลับไปที่ช่อง AC output เพื่อเลี้ยงตัวมอนิเตอร์ และจะส่งแรงดันไฟ 220 โวลต์ อีกส่วนหนึ่งเข้าสู่หน่วยการทำงานที่ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟสลับ 220 โวลต์ ให้เป็นไฟกระแสตรง 300 โวลต์ โดยไม่ผ่านหม้อแปลงไฟ ระบบนี้เรียกว่า (Switching power supply ) และผ่านหม้อแปลงที่ทำหน้าที่แปลงไฟตรงสูงให้เป็นไฟตรงต่ำ โดยจะฝ่านชุดอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กำหนดแรงดันไฟฟ้าอีกชุดหนึ่งแบ ่งให้เป็น 5 และ 12 ก่อนที่จะส่งไปยังสายไฟและตัวจ่ายต่างๆ โดยความสามารถพิเศษของ Switching power supply ก็คือ มีชุด Switching ที่จะทำการตัดไฟเลี้ยงออกทันทีเมื่อมีอุปกรณ์ที่โหลดไฟตัวใดตัว หนึ่งชำรุดเสียหาย หรือช็อตนั่นเอง
พาวเวอร์ซัพพลาย ทั้งแบบ AT และ ATX นั้นมีลักษณะการทำงานที่เหมือนกัน คือรับแรงดันไฟจาก 220-240 โวลต์ โดยผ่านการควบคุมด้วยสวิตช์ สำหรับ AT และเมนบอร์ด แล้วส่งแรงดันไฟส่วนหนึ่งกลับไปที่ช่อง AC output เพื่อเลี้ยงตัวมอนิเตอร์ และจะส่งแรงดันไฟ 220 โวลต์ อีกส่วนหนึ่งเข้าสู่หน่วยการทำงานที่ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟสลับ 220 โวลต์ ให้เป็นไฟกระแสตรง 300 โวลต์ โดยไม่ผ่านหม้อแปลงไฟ ระบบนี้เรียกว่า (Switching power supply ) และผ่านหม้อแปลงที่ทำหน้าที่แปลงไฟตรงสูงให้เป็นไฟตรงต่ำ โดยจะฝ่านชุดอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กำหนดแรงดันไฟฟ้าอีกชุดหนึ่งแบ ่งให้เป็น 5 และ 12 ก่อนที่จะส่งไปยังสายไฟและตัวจ่ายต่างๆ โดยความสามารถพิเศษของ Switching power supply ก็คือ มีชุด Switching ที่จะทำการตัดไฟเลี้ยงออกทันทีเมื่อมีอุปกรณ์ที่โหลดไฟตัวใดตัว หนึ่งชำรุดเสียหาย หรือช็อตนั่นเอง
ป้ายกำกับ:
Computer
Mainboard
แผงวงจรหลัก, แผงหลัก หรือชื่ออื่นเช่น เมนบอร์ด (อังกฤษ: mainboard/main board), มาเธอร์บอร์ด (อังกฤษ: motherboard), ซิสเต็มบอร์ด (อังกฤษ: system board), ลอจิกบอร์ด (อังกฤษ: logic board) เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ส่วนสำคัญของคอมพิวเตอร์ แผงวงจรหลักของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไปจะประกอบด้วยซ็อกเก็ตสำหรับบรรจุหน่วยประมวลผลกลางและหน่วยความจำ มีไบออสเป็นเฟิร์มแวร์ พร้อมช่องให้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมอื่น ๆ ได้ทั้งอุปกรณ์ติดตั้งภายในและอุปกรณ์เชื่อมต่อภายนอก
แผงวงจรหลัก หมายถึง แผงวงจรหลักในเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่อุปกรณ์ต่มโางๆเชื่อมต่ออยู่อีกทีหนึ่ง
โฆษณาคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในบางประเทศใช้ศัพท์สแลงเรียกแผงวงจรหลักว่า mobo (โบ) ซึ่งเป็นคำย่อจาก motherboard
ป้ายกำกับ:
Computer
Display Card
การ์ดแสดงผล หรือ การ์ดจอ (video card หรือ display card) เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลเกี่ยวกับการแสดงผลจากหน่วยความจำ มาคำนวณและประมวลผล จากนั้นจึงส่งข้อมูลในรูปแบบสัญญาณเพื่อนำไปแสดงผลยังอุปกรณ์แสดงผล (มักเป็นจอภาพ)
การ์ดแสดงผลสมัยเก่าทำหน้าที่แปลงข้อมูลดิจิทัลเป็นสัญญาณเท่านั้น แต่จากกระแสของการ์ดเร่งความเร็วสามมิติ ในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษที่ 90 โดยบริษัท 3dfx และ nVidia ทำให้เทคโนโลยีด้านสามมิติพัฒนาไปมาก ปัจจุบันการ์ดแสดงผลสมัยใหม่ได้รวมความสามารถในการแสดงผลภาพสามมิติมาไว้เป็นมาตรฐาน และได้เรียกชื่อใหม่ว่า GPU (Graphic Processing Unit) โดยสามารถลดงานด้านการแสดงผลของของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ได้มาก
การ์ดแสดงผลสมัยเก่าทำหน้าที่แปลงข้อมูลดิจิทัลเป็นสัญญาณเท่านั้น แต่จากกระแสของการ์ดเร่งความเร็วสามมิติ ในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษที่ 90 โดยบริษัท 3dfx และ nVidia ทำให้เทคโนโลยีด้านสามมิติพัฒนาไปมาก ปัจจุบันการ์ดแสดงผลสมัยใหม่ได้รวมความสามารถในการแสดงผลภาพสามมิติมาไว้เป็นมาตรฐาน และได้เรียกชื่อใหม่ว่า GPU (Graphic Processing Unit) โดยสามารถลดงานด้านการแสดงผลของของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ได้มาก
ในปัจจุบันการ์ดแสดงผลจำนวนมากไม่อยู่ในรูปของการ์ด แต่จะอยู่เป็นส่วนหนึ่งของแผงเมนบอร์ดซึ่งทำหน้าที่เดียวกัน วงจรแสดงผลเหล่านี้มักมีความสามารถด้านสามมิติค่อนข้างจำกัด แต่ก็เหมาะสมกับงานในสำนักงาน เล่นเว็บ อ่านอีเมล เป็นต้น สำหรับผู้ที่ต้องการความสามารถด้านสามมิติสูง ๆ เช่น ใช้เพื่อเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ยังอยู่ในรูปของการ์ดที่ต้องเสียบเพิ่มเพื่อให้ได้ภาพเคลื่อนไหวที่เป็นสามมิติที่สมจริง ในทางกลับกัน การใช้งานบางประเภท เช่น งานทางการแพทย์ กลับต้องการความสามารถการแสดงภาพสองมิติที่สูงแทนที่จะเป็นแบบสามมิติ
เดิมการ์ดแสดงผลแบบสามมิติอยู่แยกกันคนละการ์ดกับการ์ดแบบสองมิติและต้องมีการต่อสายเชื่อมถึงกัน เช่น การ์ด Voodoo ของบริษัท 3dfx ซึ่งปัจจุบันไม่มีแล้ว ปัจจุบันการ์ดแสดงผลสามมิติมีความสามารถเกี่ยวกับการแสดงผลสองมิติในตัว
ป้ายกำกับ:
Computer
Ram
RAM (แรม)
เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้แรมในการเก็บโปรแกรมและข้อมูลระหว่างการประมวลผล คุณสมบัติที่สำคัญประการหนึ่งของแรมคือความเร็วที่ใช้เข้าหนึ่งตำแหน่งต่างๆ ในหน่วยความจำมีค่าเท่าๆ กัน ซึ่งต่างจากเทคโนโลยีอื่นบางอย่างซึ่งต้องใช้เวลารอกว่าที่บิตหรือไบต์จะมาถึง
ระบบแรกๆ ที่ใช้หลอดสุญญากาศทำงานคล้ายกับแรมในสมัยปัจจุบันถึงแม้ว่าอุปกรณ์จะเสียบ่อยกว่ามาก หน่วยความจำแบบแกนเฟอร์ไรต์ (core memory) ก็มีคุณสมบัติในการเข้าถึงข้อมูลแบบเดียวกัน แนวความคิดของหน่วยความจำที่ทำจากหลอดและแกนเฟอร์ไรต์ก็ยังใช้ในแรมสมัยใหม่ที่ทำจากวงจรรวม
หน่วยความจำหลักแบบอื่นมักเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ที่มีเวลาเข้าถึงข้อมูลไม่เท่ากัน เช่น หน่วยความจำแบบดีเลย์ไลน์ (delay line memory) ที่ใช้คลื่นเสียงในท่อบรรจุปรอทในการเก็บข้อมูลบิต หน่วยความจำแบบดรัม ซึ่งทำงานใกล้เคียงฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบัน เป็นข้อมูลในรูปของแม่เหล็กในแถบแม่เหล็กรูปวงกลม
แรมหลายชนิดมีคุณสมบัติ volatile หมายถึงข้อมูลที่เก็บจะสูญหายไปถ้าปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ แรมสมัยใหม่มักเก็บข้อมูลบิตในรูปของประจุไฟฟ้าในตัวเก็บประจุ ดังเช่นกรณี ไดนามิคแรม หรือในรูปสถานะของฟลิปฟล็อป ดังเช่นของ สแตติกแรมปัจจุบันมีการพัฒนาแรมแบบ non-volatile ซึ่งยังเก็บรักษาข้อมูลถึงแม้ว่าไม่มีไฟเลี้ยงก็ตาม เทคโนโลยีที่ใช้ ก็เช่น เทคโนโลยีนาโนทิวจากคาร์บอน (carbon nanotube) และ ปรากฏการณ์ magnetic tunnel
ในฤดูร้อนปี พ.ศ. 2546 มีการเปิดตัวแรมแบบแม่เหล็ก (Magnetic RAM, MRAM) ขนาด 128 Kib ซึ่งผลิตด้วยเทคโนโลยีระดับ 0.18 ไมครอน หัวใจของแรมแบบนี้มาจากปรากฏการณ์ magnetic tunnel ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2547 บริษัท อินฟินิออน (Infineon) เปิดตัวต้นแบบขนาด 16 Mib อาศัยเทคโนโลยี 0.18 ไมครอนเช่นเดียวกัน
สำหรับหน่วยความจำจากคอร์บอนนาโนทิว บริษัท แนนเทโร (Nantero) ได้สร้างต้นแบบขนาน 10 GiB ในปี พ.ศ. 2547
ในเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถจองแรมบางส่วนเป็นพาร์ติชัน ทำให้ทำงานได้เหมือนฮาร์ดดิสก์แต่เร็วกว่ามาก มักเรียกว่า แรมดิสค์ (ramdisk)
ป้ายกำกับ:
Computer
Knowledge Worker
Leverage of knowledge asset
Knowledge asset คือ ความรู้ที่สร้างขึ้นมาได้จาก SECI ( SECI คือกระบวนการสร้างความรู้ )
Knowledge asset แบ่งเป็น 4 แบบ
Knowledge asset แบ่งเป็น 4 แบบ
Experimental - ความรู้แบบ tacit ที่เกิดจากประสบการณ์ในการทำงาน และสายสัมพันธ์ระหว่างพนักงาน ลูกค้า
Conceptual - ความรู้แบบ explicit ที่แสดงออกผ่านภาพลักษณ์ สัญลักษณ์ และภาษา ได้แก่ คอนเซปต์ผลิตภัณฑ์
Routine - ความรู้แบบ tacit ที่วนๆ เช่น ทักษะในการทำงานของทีม วิธีหรือขั้นตอนการทำงานในองค์กร
Systemic - ความรู้ explicit ที่จัดทำเป็นแพกเกจ เช่น เอกสาร คู่มือ
ป้ายกำกับ:
KM
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)