วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การติดตั้งการ์ดเสียง


                    1. เตรียมการ์ดเสียงให้พร้อม


                  





                    2. เสียบการ์ดลงในสล็อต PCI

                    ! สังเกตุจะมีร่องอยู่




                    3. กดลงไปให้แน่น  แล้วขันน็อตเพื่อยึดตัวน็อต
เข้ากับเคสให้แน่น

                   




                    4. เสียบสายสัญญาณเสียงเข้ากับขาต่อบนการ์ด
เสียง(เสียบกลับด้านได้)


                   




                    5. ให้นำปลายสายอีกด้านของสายสัญญาณเสียง
เสียบเข้ากับช่องรับท้านไดร์ฟซีดีรอม


                    





ประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นโรงเรียนการเรือนแห่งแรกของประเทศไทย ชื่อ“โรงเรียนมัธยมวิสามัญการเรือน” สังกัดกองอาชีวศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2477 ที่วังกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย-เทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพณิชยการพระนคร) มีจุดมุ่งหมายเพื่ฝึกอบรมการบ้านการเรือนสำหรับสตรีหลักสูตร 4 ปี และได้เริ่มเปิดสอนหลักสูตรอบรมครูการเรือนขึ้นเป็นครั้งแรกมีความมุ่งหมายเพื่อเตรียมผู้ที่จะออกไปมีอาชีพครูในแขนงนี้ ต่อมาในปี พ.ศ.2480 ได้ย้ายมาอยู่ที่วังจันทรเกษม(กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน) และเปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนมัธยมวิสามัญการเรือนมาเป็น “โรงเรียนการเรือนวังจันทรเกษม” สังกัดกองและกรมเดิม โดยเปิดสอนหลักสูตรมัธยมการเรือน (หลักสูตร 3 ปี) และหลักสูตรการเรือนชั้นสูง (หลักสูตร 3 ปี) เพิ่มเติมในปี พ.ศ. 2484 ได้ย้ายจากวังจันทรเกษมมาตั้งอยู่ในบริเวณสวนสุนันทา บนพื้นที่ประมาณ 37 ไร่ ซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้งมหาวิทยาลัยในปัจจุบันและเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนการเรือนพระนคร” ย้ายสังกัดจากกองอาชีว-ศึกษาไปสังกัดกองฝึกหัดครูกรมสามัญศึกษา ในขณะเดียวกันกระทรวงศึกษาธิการก็ได้จัดตั้ง “โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ” ขึ้น ในบริเวณพื้นที่เดียวกันกับโรงเรียนการเรือนพระนคร สังกัดกองฝึกหัดครู กรมสามัญศึกษา แต่แยกส่วนการบริหารจัดการออกจากกันเมื่อกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งกรมการฝึกหัดครูขึ้นตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ฉบับ พ.ศ. 2497 เพื่อรวมการฝึกหัดครูที่จัดขึ้นในกรมต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการประหยัดและเพิ่มพูน ประสิทธิภาพในการปรับปรุงการผลิตครูทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ โรงเรียนการเรือนพระนครจึงย้ายมาสังกัดกรมการฝึกหัดครู ในปี พ.ศ. 2498 และได้โอนแผนกฝึกหัดครูอนุบาลจากโรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ มาสังกัด โรงเรียนการเรือนพระนคร
 พุทธศักราช 2499
                    โรงเรียนการเรือนพระนครได้เปิดสอนหลักสูตร ป.กศ. (คหศาสตร์) เป็นปีแรกและเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ในขณะเดียวกันก็เปิดสอนหลักสูตรประโยคครูการเรือน ประโยคครูอนุบาล ระดับ ป.ป. (หลักสูตรครูประถม) และประโยคครูมัธยมการเรือนควบคู่กันไปด้วย
พุทธศักราช 2501                    เปิดสอนหลักสูตร ป.กศ. และ ป.กศ. (ชั้นสูง) เรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2504 กระทรวงศึกษาธิการประกาศยกฐานะโรงเรียนการเรือนพระนครเป็นวิทยาลัยครู ชื่อ “วิทยาลัยครูสวนดุสิต” สังกัดกองการฝึกหัดครู กรมการฝึกหัดครู
พุทธศักราช 2518                    พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2518 มีผลบังคับใช้ กรมการฝึกหัดครูได้ปรับปรุงหลักสูตรขึ้นใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นหลักสูตรการฝึกหัดครูของสภาการฝึกหัดครู พ.ศ. 2519 ทำให้วิทยาลัยครูสามารถเปิดสอนได้ถึงระดับ ปริญญาตรี นอกจากนี้ยังได้มีการรวมโรงเรียนอนุบาลลอออุทิศกับการฝึกหัดครูอนุบาลเข้าด้วยกันเป็นภาควิชาการอนุบาลศึกษา สังกัดคณะครุศาสตร์ วิทยาลัยครูสวนดุสิต และได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนอนุบาลละอออุทิศเป็น “โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ” และเปิดสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตรสภาการฝึกหัดครู วิชาเอกการอนุบาลศึกษาเป็นครั้งแรกจากพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2518 ทำให้วิทยาลัยครูมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทั้งระบบบริหารและวิชาการ ตำแหน่งหัวหน้าสถานศึกษาของวิทยาลัยครูได้เปลี่ยนไปเป็น “อธิการวิทยาลัย” พร้อม ๆ กับการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งผู้บริหารส่วนราชการอื่น ๆ ก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คือ เป็นส่วนราชการที่ประกอบด้วยอธิการ รองอธิการฝ่ายบริหาร รองอธิการฝ่ายวิชาการ และรองอธิการฝ่ายกิจการนักศึกษา สำนักงานอธิการ ประกอบด้วยแผนกต่าง ๆ 12 แผนก ด้านงานวิชาการได้จัดตั้งให้มีคณะวิชา 3 คณะ คือ คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (มีภาควิชาในสังกัด 11 ภาควิชา) คณะวิชาครุศาสตร์ (มีภาควิชาในสังกัด 7 ภาควิชา) และคณะวิชาวิทยาศาสตร์ (มีภาควิชาในสังกัด 9 ภาควิชา)การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นผลให้วิทยาลัยมีการก่อสร้างและปรับปรุงอาคารสถานที่ เพื่อใช้เป็นสำนักงานและห้องเรียนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก แม้ว่าจะมีการปรับปรุงโครงสร้าง ระบบบริหารและระบบวิชาการใหม่ แต่วิทยาลัยครูสวนดุสิตยังคงมีการจัดการศึกษาในสาขาเดียว คือ สาขาวิชาการศึกษา ตามหลักสูตรสภาการฝึกหัดครู ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) ระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ. สูง) และระดับปริญญาตรี 4 ปี และ 2 ปี ต่อเนื่อง (ครุศาสตรบัณฑิต) จำนวน 11 วิชาเอก (ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ทั่วไป คหกรรมศาสตร์ ศิลปศึกษา การศึกษาพิเศษ การอนุบาลศึกษา การประถมศึกษา อุตสาหกรรมศิลป์ และคณิตศาสตร์)
พุทธศักราช 2528                    หลังจากที่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2518 เป็น พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2527 ทำให้วิทยาลัยครูสามารถเปิดสอนสายวิชาการอื่นได้ นอกเหนือจากสายวิชาชีพครู วิทยาลัยครูสวนดุสิตจึงเริ่มเปิดสอนสายวิชาการอื่น โดยเริ่มจากหลักสูตรระดับอนุปริญญา คือ อนุปริญญาศิลปศาสตร (อ.ศศ.) 3 วิชาเอก (วารสารและการประชาสัมพันธ์ ภาษาอังกฤษ และออกแบบนิเทศศิลป์) และอนุปริญญาวิทยาศาสตร์ (อ.วท.) 3 วิชาเอก (การอาหาร ผ้าและเครื่องแต่งกาย และศิลปประดิษฐ์) และได้มีการเปิดรับสมัครนักศึกษาชายเข้าเรียนเป็นสหศึกษาเป็นปีแรก
พุทธศักราช 2529-2534
                    วิทยาลัยครูสวนดุสิตได้ขยายการเปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สายวิชาการอื่นเพิ่มขึ้นหลายวิชาเอก ในสาขาวิทยาศาสตรบัณฑิตและศิลปศาสตรบัณฑิต ทั้งในระดับปริญญาตรี 4 ปี และปริญญาตรีต่อเนื่อง มีการเปิดสอนนักศึกษาตามโครงการจัดการศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการ (กศ.บป.) รุ่นแรกในปี พ.ศ. 2529 โดยเปิดสอนทั้งสายวิชาชีพครูและสายวิชาการอื่นในระดับอนุปริญญา และระดับปริญญาตรี
พุทธศักราช 2535
                    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ “สถาบันราชภัฏ” แก่วิทยาลัยครูทั่วประเทศ
พุทธศักราช 2538
                    ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 ส่งผลให้วิทยาลัยครูสวนดุสิตเปลี่ยนชื่อเป็น “สถาบันราชภัฏสวนดุสิต” สังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ กระทรวงศึกษาธิการ จากพระราชบัญญัติฉบับนี้ ทำให้สวนดุสิตสามารถขยายการจัดการศึกษาได้อย่างกว้างขวาง และหลากหลายรูปแบบมากขึ้น มีการเปิดสอนตามหลักสูตรสาขาวิชาการศึกษา สาขาวิชาศิลปศาสตร์ และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ มีผู้สนใจสมัครเข้าเรียนเป็นจำนวนมาก ทั้งภาคปกติและภาคสมทบ นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับองค์กรภายนอก เพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษา ด้วยการจัดตั้งศูนย์การศึกษานอกสถาบันจำนวน 3 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์ซุปเปอร์เซฟ ศูนย์องค์การเภสัชกรรม และศูนย์อรรถวิทย์ โดยเปิดสอนระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี รับนักศึกษาภาคสมทบ
พุทธศักราช 2540
                    จัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัยขึ้น และเริ่มเปิดสอนระดับปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจ (Master of Business Administration) โดยร่วมมือกับ Victoria University ประเทศแคนาดา และเปิดศูนย์การศึกษานอกสถาบันเพิ่มขึ้นในเขตกรุงเทพมหานคร (ศูนย์จรัญสนิทวงศ์ ศูนย์พงษ์สวัสดิ์ และศูนย์สุโขทัย) เป็นปีที่สถาบันทุ่มเทงบประมาณเป็นจำนวนมาก พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการเรียนการสอนและเป็นฐานข้อมูลระบบการสอนทางไกล (Video – conference) และระบบห้องสมุดเสมือน (Virtual Library) ที่สมบูรณ์แบบได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นครั้งแรกในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย
พุทธศักราช 2541-2546
                    เป็นช่วงระยะเวลาที่สถาบันราชภัฏสวนดุสิตได้ขยายการจัดการศึกษาออกไปอย่างกว้างขวาง ทั้งการเปิดสอนในหลักสูตรใหม่ ๆ เพิ่มเติม และการขยายศูนย์การศึกษาออกไปยังเขตปริมณฑลและต่างจังหวัด (ศูนย์ดุสิตพณิชยการสยาม ศูนย์เซ็ลทรัลปิ่นเกล้า ศูนย์อิมพีเรียล บางนา ศูนย์นครนายก ศูนย์ปราจีนบุรี ศูนย์ธนาลงกรณ์ ศูนย์บุษยมาส ศูนย์พณิชยการสยาม ศูนย์นครปฐม ศูนย์ชลบุรี ศูนย์พัทยา ศูนย์สระบุรี ศูนย์พะเยา ศูนย์ลำปาง ศูนย์ระนอง 2 ศูนย์พิษณุโลก ศูนย์ตรัง ศูนย์ลุมพินี และศูนย์หัวหิน) เนื่องจากมีผู้สนใจเข้าเรียนเป็นจำนวนมาก ประกอบกับพื้นที่เรียนภายในสถาบันอยู่ในระหว่างการก่อสร้างและปรับปรุงใหม่ทางด้านการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาก็ได้มีการจัดการศึกษาทั้งในระดับปริญญาโท (ครุศาสตรมหาบัณฑิต รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต และนิเทศศาสตร มหาบัณฑิต) และเปิดสอนในระดับปริญญาเอกเป็นครั้งแรก (พ.ศ. 2545) หลักสูตรการจัดการดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Management)
พุทธศักราช 2547
                    สถาบันราชภัฎสวนดุสิตได้ปรับเปลี่ยนสถานภาพจาก “สถาบัน” เป็น “มหาวิทยาลัย” ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ชื่อว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต” สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
พุทธศักราช 2548-2551
                    จากพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ทำให้สวนดุสิตมีการปรับเปลี่ยนในด้านต่าง ๆ ทั้งโครงสร้างของระบบบริหารและการบริหารจัดการทางด้านวิชาการ รวมทั้งจากการปฏิรูปการศึกษาและการปฏิรูประบบราชการ ทำให้มหาวิทยาลัยต้องกำหนดแผนกลยุทธ์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549-2551 ในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย
                    มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตจัดอยู่ในกลุ่มมหาวิทยาลัยที่เน้นการผลิตบัณฑิตและพัฒนาสังคม จัดการเรียนการสอนและภารกิจอื่นทั้งในมหาวิทยาลัย และศูนย์การศึกษานอกมหาวิทยาลัยที่กระจายอยู่ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ทุกภูมิภาคของประเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตได้กำหนดอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นความเชี่ยวชาญดั้งเดิม และ โดดเด่นเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งสาขาวิชาที่มีความพร้อมสามารถตอบสนองความต้องการของสังคมและท้องถิ่น มีทั้งหมด 4 ด้าน คือ
1. ด้านการศึกษาปฐมวัย
2. ด้านอุตสาหกรรมอาหาร
3. ด้านอุตสาหกรรมบริการ
4. พยาบาลศาสตร์ 
พุทธศักราช 2552-2556
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตได้กำหนดแนวทางในการพัฒนาเอาไว้ ดังนี้
1. เพื่อให้สอดคล้องกับแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551 – 2565) และแนวนโยบายของมหาวิทยาลัยในการที่จะพัฒนาโครงสร้างของหน่วยงานหลักในมหาวิทยาลัย ให้สอดคล้องกับ พันธกิจและประสิทธิผลของการบริหารจัดการ มหาวิทยาลัยจึงได้กำหนดให้มีหน่วยงานใหม่เพิ่มขึ้นตามประกาศสภามหาวิทยาลัยนอกเหนือไปจากโครงสร้างเดิมตามกฎกระทรวงในการแบ่งส่วนราชการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
2. การดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานจะต้องดำเนินการโดยมุ่งเน้นคุณภาพของงานเป็นสำคัญ และจะต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยในภาพรวมได้
3. การกำหนดอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยออกเป็น 4 ด้าน (เป็นสถาบันเฉพาะทาง ลักษณะที่เป็นสถาบันที่เน้นระดับปริญญาตรี)
- การศึกษาปฐมวัย
- อุตสาหกรรมอาหาร
- อุตสาหกรรมบริการ
- พยาบาลศาสตร์
4. การพัฒนาคุณภาพของการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ มาตรฐานการอุดมศึกษา และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา5. การเปลี่ยนแปลงปรัชญาและกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยจากการเป็นมหาวิทยาลัยที่ตระหนักถึงความอยู่รอดขององค์กร(Survival) ไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความสามารถในการสร้างความเข้มแข็งในการอยู่รอด (Survivability)
ลำดับความเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
ปี พ.ศ.
ชื่อสถานศึกษา
สังกัด
ตำแหน่ง/ผู้บริหาร
2477 – 2480โรงเรียนมัธยม วิสามัญการเรือน (วังกรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์)กองอาชีวศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงธรรมการ2477 ครูใหญ่ คุณหญิงเพชรดา ณ ป้อมเพชร์ (ม.ล. จิตรกุล กุญชร)
2477 รักษาการครูใหญ่ นางนิลรัตน์ บรรณสิทธิ์วรสาสน์
2477 – 2484 ครูใหญ่คุณหญิงไสววงศ์ ทองเจือ
2480 – 2484โรงเรียนการเรือน วังจันทรเกษม (วังจันทรเกษม)กองอาชีวศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงธรรมการ
2484 – 2504โรงเรียนการเรือนพระนคร (สวนสุนันทา)กองโรงเรียนฝึกหัดครู กรมสามัญศึกษา กระทรวงธรรมการ2484 – 2489 อาจารย์ใหญ่ นางบุญเกลื้อ กรลักษณ์
2489 – 2504 อาจารย์ใหญ่ คุณหญิงกระจ่างศรี รักตะกนิษฐ์
2504 – 2538วิทยาลัยครูสวนดุสิตกองโรงเรียนฝึกหัดครู (กองการฝึกหัดครู) กรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ2504 – 2518 ผู้อำนวยการ คุณหญิงกระจ่างศรี รักตะกนิษฐ์
2518 – 2528 อธิการ ศาสตราจารย์เรวดี วงศ์พรหมเมฆ (พ.ร.บ. วิทยาลัยครู ฉบับที่ 1, 2518)
2528 – 2537 อธิการ รองศาสตราจารย์ลำพอง บุญช่วย (พ.ร.บ. วิทยาลัยครูฉบับที่ 2, 2527)
2537 – 2538 อธิการ รองศาสตราจารย์ธง รุญเจริญ
2538 – 2547สถาบันราชภัฏสวนดุสิตสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ กระทรวงศึกษาธิการ2538 – 2546 อธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร. ศิโรจน์ ผลพันธิน (พ.ร.บ. สถาบันราชภัฏ, 2538)
2546 – 2547 อธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร. สุขุม เฉลยทรัพย์
2547 – ปัจจุบันมหาวิทยาลัย ราชภัฎสวนดุสิตสำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ2547 – 2556 อธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร. ศิโรจน์ ผลพันธิน
(พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยราชภัฏ, 2547)
2556 – ปัจจุบัน อธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิทักษ์ จันทร์เจริญ
ผู้บริหารสถาบัน (อดีต-ปัจจุบัน)
ผู้บริหารระยะเวลาบริหาร
  1. คุณหญิงเพชรดา ณ ป้อมเพชร์
  2. นางนิลรัตน์ บรรณสิทธิ์วรสาสน์
  3. คุณหญิงไสววงศ์ ทองเจือ
  4. นางบุญเกลื้อ กรลักษณ์
  5. คุณหญิงกระจ่างศรี รักตะกนิษฐ์
  6. ศาสตราจารย์เรวดี วงศ์พรหมเมฆ
  7. รองศาสตราจารย์ลำพอง บุญช่วย
  8. รองศาสตราจารย์ธง รุญเจริญ
  9. รองศาสตราจารย์ ดร. ศิโรจน์ ผลพันธิน
  10. รองศาสตราจารย์ ดร. สุขุม เฉลยทรัพย์
  11. รองศาสตราจารย์ ดร. ศิโรจน์ ผลพันธิน
  12. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิทักษ์ จันทร์เจริญ
พ.ศ. 2477
พ.ศ. 2477
พ.ศ. 2477 – 2484
พ.ศ. 2484 – 2489
พ.ศ. 2489 – 2518
พ.ศ. 2518 – 2528
พ.ศ. 2528 – 2537
พ.ศ. 2537 – 2538
พ.ศ. 2538 – 2546
พ.ศ. 2546 – 2547
พ.ศ. 2547 – 2556
พ.ศ. 2556 – ปัจจุบัน

ความหมายตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

tifราชภัฏสวนดุสิต
ตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต
ส่วนประกอบตราสัญลักษณ์ เป็นวงรีรูปไข่ 2 วงซ้อนกัน วงรีวงนอกจะเป็นเส้นเดี่ยว ส่วนวงรีวงในจะเป็นเส้นคู่ ภายในวงรีในจะเป็นดวงตรา พระราชลัญจกร ประจำพระองค์ ระหว่างวงรีทั้งสองตอนบนจะเป็นอักษรไทยรูปทรงอักษรเป็นแบบล้านนา และอักษรขอมว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต” ส่วนตอนล่างเป็นอักษรอังกฤษ รูปทรงเป็นแบบอักษรโรมัน แบบ Gothic หรือตัวอักษรแบบ Old English ความว่า “SUAN DUSIT RAJABHAT UNIVERSITY” ความหมายของชุดอักษรไทยและอังกฤษแทนค่าความรู้สึกในการ สื่อสารร่วมสมัย และแสดงความสูงส่ง แห่งสถาบันพระมหากษัตริย์
          พระราชลัญจกรแบ่งออกได้ 3 ประเภท ประกอบด้วย
           -  พระราชลัญจกรประจำแผ่นดินหรือที่เรียกกันทั่วๆ ไปว่า “ตราแผ่นดิน” สำหรับประทับกำกับพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์หรือกำกับนาม ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์           - พระราชลัญจกรประจำพระองค์ หมายถึง ตราประจำชาติดวงที่ใช้ประทับ กำกับ พระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ในต้นเอกสารส่วนพระองค์ ซึ่งไม่เกี่ยวด้วยราชการแผ่นดิน และพระราชลัญจกร สำหรับแผ่นดินหมายถึงตราประจำชาติต่างๆ ซึ่งใช้ประทับกำกับเอกสารสำคัญที่ออกในพระปรมาภิไธย พระมหากษัตริย์ (ข้อมูล : ตราแผ่นดินตราราชสกุล และสกุลอักษรพระนาม และพระนามย่อ)           - พระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบันเป็นรูปกลมรี ตั้งแปลกไปกว่าพระราชลัญจกรองค์อื่นๆ ลายกลางเป็นรูปพระมหาอุณาโลมอยู่ภายในวงจักร รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ เหนือจักรเป็นรูปเศวตฉัตรเจ็ดชั้น ฉัตรตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ
           การที่ผู้กำหนดรูปแบบพระราชลัญจกรดังนี้ มีอธิบายว่าหมายถึง ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินโดยที่ผู้แทนทั้งแปดน้อมนำแผ่นดินและความเป็นใหญ่มาถวายเป็นสัญลักษณ์แห่งวันบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณีที่เสด็จประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศ และสมาชิกรัฐสภาถวายน้ำอภัยเษก โดยทิศทั้งแปดและครั้งแรกที่พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย ทรงรับน้ำอภัยเษกจากสมาชิกรัฐสภาแทนที่จะทรงรับจากราชบัณฑิตดั่งในรัชกาลก่อน ผู้เขียนจำได้ว่าเคยอ่านเอกสารเรื่องการสร้างพระราชลัญจกร องค์นี้นานมาแล้ว เสียดายที่ไม่ได้คัดลอกเอาไว้ แต่จำได้ว่าเนื่องมาจากพระปรมาภิไธย “ภูมิพล” ซึ่งหมายถึง กำลังแผ่นดิน เมื่อจะกำหนดรูปแบบออกมาไม่มีอะไรเหมาะเท่าที่นั่งอัฐทิศซึ่งเป็นพระแท่นแปดเหลี่ยม ซึ่งถึงจะอย่างไรก็ได้ชื่อว่า ตั้งอยู่บนแผ่นดิน เป็นกำลังแผ่นดิน
พระราชลัญจกรประจำพระองค์ดังกล่าวมาข้างต้นนั้น สำหรับใช้ประทับกำกับพระปรมาภิไธยในต้นเอกสารสำคัญส่วนพระองค์พระมหากษัตริย์ไม่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน เช่น ประทับในประกาศนียบัตรเหรียญรัตนาภรณ์ เป็นต้น (จากความรู้เรื่องต่างๆ “พระราชลัญจกร” โดย ส.พลายน้อย)

สีของสัญลักษณ์ประกอบด้วยสีต่างๆ 5 สี ดังต่อไปนี้
ความหมายสี
  ตรา มสด. และ SDU 
 LOGO รวม-1
                                                       มสด.       เป็นอักษรย่อมาจาก               มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
                                                      SDU        เป็นอักษรย่อมาจาก               SUAN DUSIT RAJABHAT  UNIVERSITY
             ปี พ.ศ.2547 สถาบันราชภัฏได้ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏพร้อมกันทั่วประเทศในการดังกล่าว โครงการสวนดุสิต กราฟฟิคไซท์ ได้รับหน้าที่เป็นผู้ออกแบบสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขึ้นมาใหม่ โดยเน้นเป้าหมายเพื่อความง่ายต่อการสื่อสาร ความโดดเด่น สะดุดตา ง่ายต่อการจดจำ และสื่อความหมายในภาพลักษณ์ใหม่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตได้ อีกทั้งเพื่อองค์กรจะได้มีตราประจำมหาวิทยาลัยสำหรับใช้เพื่อการสื่อสารเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากตราพระราชลัญจกร ซึ่งมีประจำอยู่ในทุกมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ภาพสัญลักษณ์ใหม่ชิ้นนี้ได้ถูกออกแบบขึ้นโดยการใช้ภาพตัวอักษร (Letter mark) เพื่อสื่อถึงความเป็นเอกภาพ ความคล่องตัว แลละความเป็นเลิศในการบริหารจัดการ ภายใต้แนวคิดการทำงานเป็นทีม โดยนำอักษรย่อจากคำเต็มในภาษาไทยและภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และ SUAN DUSIT RAJABHAT UNIVERSITY มาใช้ โดยยึดตัวอักษรหลักของแต่ละชื่อในแต่ละภาษามาใช้คือ มสด. และ SDU ตามลำดับ
อีกทั้งคำย่อดังกล่าวยังได้แสดงอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตขึ้นมาใหม่ท่ามกลางความโดดเด่นที่แตกต่างไปจากมหาวิทยาลัยราชภัฏด้วยกัน ซึ่งความโดดเด่นแห่งอัตลักษณ์นี้ถือเป็นอิทธิพลหนึ่งจากแบบตัวอักษรที่เคยปรากฏเป็นสัญลักษณ์จากพระราชลัญจกร และพระนามแบบต่างๆ ที่เคยปรากฎอยู่ในราชสำนัก นับตั้งแต่ยุคสมัยการปฎิรูปประเทศตามแนวทางตะวันตก นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2450 เป็นต้นมา
                ออกแบบโดย ศณะ  ผลพันธิน
ที่ปรึกษาโครงการสวนดุสิต กราฟฟิคไซท์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (พ.ศ.2547)
สีประจำมหาวิทยาลัย สีฟ้าน้ำทะเล
ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย ดอกเฟื่องฟ้า-ขจร
เพลงประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
อยู่แห่งไหนใกล้ไกลหัวใจเป็นหนึ่งยังคิดถึงสถาบันเมื่อวันผ่านมา
สวนดุสิตดินแดนขจรเฟื่องฟ้าแหล่งศึกษาภูมิปัญญาให้ก้าวไกล
มุ่งสร้างสรรค์พัฒนาเรื่องวิชาการมาตรฐานสากลหนทางสดใส
สีฟ้าครามแดงงามเรื่องชื่อลือไกลให้ยิ่งใหญ่คู่เมืองไทยและชาวประชา
มารวมตัวสร้างสรรค์ร่วมกันพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตของเรา
รวมใจภัคเทิดทูนรักสถาบันกลางอีสานเหนือใต้นั้นเครือข่ายเรา
สวนดุสิตแหล่งรวมหมู่มิตรหนุ่มสาวดุจร่มเงาแหล่งความรักสามัคคี

Samsung เปิดตัวผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ “Simband” อุปกรณ์ที่คอยดูแลสุขภาพ

ในงานประชุมนักพัฒนาของ Samsung ได้มีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่มากมาย และหนึ่งในนั้นก็คือ “Simband”สายรัดข้อมืออัจฉริยะด้านสุขภาพ ที่จะออกมาเป็นต้นแบบให้แก่นักพัฒนาต่อไป
simbandq2
MR.Ram Fish รองประธานฝ่าย mHealth ของ Samsung ได้ออกมาเปิดตัว “Simband” สายรัดข้อมือเพื่อสุขภาพ ที่มีความพิเศษคือ สายที่ถอดออกได้นั้นสามารถเปลี่ยนชิ้นส่วนเซนเซอร์วัดสุขภาพแต่ละอย่างได้ตามความต้องการ ซึ่งเหนือกว่าสายวัดสุขภาพทั่วไป ที่ตัวนี้สามารถวัดได้ตั้งแต่อัตราการเต้นหัวใจ ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด ไปจนถึงวัดความดันได้เลยทีเดียว
โดยสายวัดตัวนี้จะทำงานอยู่บนระบบที่เรียกว่า Samsung Architecture Multimodal Interaction (SAMI) ซึ่งเป็นระบบเปิด ทำงานบนคลาวด์และ เชื่อมต่อกับ S-Health  ของบริษัทตัวเองอีกด้วย จะทำให้นักพัฒนาสามารถระดมกันทำอุปกรณ์ต่างๆและซอฟต์แวร์มาใช้ร่วมด้วยกันได้ ถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมด้านสุขภาพอีกอย่างหนึ่งจากทาง Samsung เลยทีเดียว และด้านความปลอดภัยของข้อมูลต่างๆนั้น จะถูกเก็บไว้ใน Samsung account ซึ่งจะเป็นของส่วนตัวสำหรับผู้ใช้อย่างเดียว ไม่ถูกดึงนำไปใช้แต่อย่างใด
ขณะนี้ Samsung ได้เปิดให้นักพัฒนาได้ใช้ระบบ Samsung Digital Health (SDH) และชุดพัฒนาซอฟต์แวร์แล้ว เพื่อทำแอพฯ และอุปกรณ์เสริมต่างๆให้แก่ตัว Simband แล้ว ซึ่งอีกสักพักเราคงได้เห็นความคืบหน้าของโครงการนี้ต่อไป

1112_samsung_simband_3-730x410
1112_samsung_simband-730x410

iXpand Flash Drive จาก Sandisk อุปกรณ์ที่จะช่วยดึงรูปจาก iPhone และ iPad ได้

Sandisk เปิดตัวอุปกรณ์ตัวใหม่ iXpand Flash Drive ที่จะช่วยดึงข้อมูลรูปภาพและวิดีโอจาก iPhone และ iPad ได้ด้วยพอร์ท Lightning ที่มีให้ และ USB สำหรับเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์อีกทางหนึ่ง
sandisk-ixpand-flash-drive-iphone-ipad
ด้วยความจุที่จำกัด ของทั้ง iPhone และ iPad เมื่อใช้ไปนานภาพที่ถ่าย วิดีโอที่ถ่าย ก็อาจจะเยอะขึ้นจนไม่เหลือที่เก็บอีกต่อไป และใครที่ต้องการโอนย้ายข้อมูลรูปภาพและวิดีโออย่างง่ายๆ โดยไม่ต้องเชื่อมกับคอมพิวเตอร์หรือต่อกับคลาวด์บนอินเตอร์เน็ต อุปกรณ์ตัวนี้สามารถตอบโจทย์ได้ดีเลยทีเดียว
iXpand Flash Drive มีทั้งพอร์ท USB และ Lightning ซึ่งผู้ผลิตเองกล่าวว่า เร็วกว่าอุปกรณ์อื่นถึงสามเท่า และยังสามารถเข้ารหัสข้อมูล รวมทั้งใส่พาสเวิร์ดป้องกันได้อีกด้วย เมื่อเสียบกับ iPhone หรือ iPad มันจะก็อปปี้ข้อมูล จากโฟลเดอร์ Camera Roll ที่เก็บรูปภาพต่างๆ เข้าสู่ตัวมันโดยอัตโนมัติ
นอกจากนี้ เรายังสามารถนำวิดีโอและเพลงใส่เข้าไปใน Flash Drive และนำไปเล่นบน iPhone หรือ iPad ได้ด้วย โดยเจ้าตัวนี้มีออกมาสามความจุให้เลือกคือ  16 GB, 32 GB, 64GB ในราคา 59.99, 79.99 และ 119.99 ดอลลาร์ตามลำดับ

Facebook เปิดตัวบริการใหม่ “Say Thanks” ส่งวิดีโอขอบคุณเพื่อนคนสำคัญของคุณ

Facebook เปิดตัวบริการทดลองใหม่ “Say Thanks” ส่งวิดีโอการ์ดแทนคำพูดไปให้เพื่อนคนสำคัญใน Facebook แต่ละคน
saythanksscreenshot2
โดย Facebook เปิดบริการดังกล่าวไว้ที่ ลิงค์นี้ (www.facebook.com/thanks) เมื่อเข้าไป ก็จะสามารถเลือกเพื่อนที่ต้องการ พร้อมรูปแบบหน้าตาวิดีโอ ซึ่งสามารถเลือกรูปไปใส่ในวิดีโอได้ทันทีจากรูปเก่าๆ หรือ อัพโหลดรูปใหม่ๆใส่เข้าไปได้ จากนั้น Facebook จะสร้างตัวอย่างวิดีโอและพร้อมส่งไปให้เพื่อนคนนั้นของคุณได้ดูด้วย
เมื่อกด Share ก็สามารถใส่ข้อความไปถึงผู้รับก่อนโพสได้ โดยวิดีโอจะโพสลง Facebook ของคุณ พร้อมแท็กเพื่อนที่คุณเลือกด้วย โดยตอนนี้ก็สามารถเข้าไปใช้งานได้แล้วทั้งบนเว็บและมือถือ บนภาษาที่รองรับคือ อังกฤษ, ฝรั่งเศส, เยอรมัน,อินโดนีเซีย, อิตาลี, โปรตุเกส, สเปนและตุรกี สามารถดูตัวอย่างวิดีโอได้จากด้านล่างนี้

ฉลอง!! เครื่องเล่นเกม Xbox One ขายได้ 10 ล้านเครื่องแล้ว

Microsoft แถลงรายงานยอดขายของ Xbox One วันนี้ ว่าสามารถทำยอดขายได้ถึง 10 ล้านเครื่องแล้ว ซึ่งจะตามหลัง PS4 ของ Sony มาติดๆ
xbox-one
ในอาทิตย์ที่ผ่านมา หลังเกมชื่อดังบนเครื่อง Xbox One ทะยอยเปิดตัวเช่น Halo และ Sunset Overdrive ก็ช่วยดันยอดขายของเครื่องเกมคอนโซลของ Microsoft ให้สูงขึ้น จนแตะ 10 ล้านเครื่องแล้วเรียบร้อย
เมื่อย้อนกลับไปตอนเดือนเมษายน Microsoft ได้เปิดเผยยอดขายออกมาอยู่ที่ 5 ล้านเครื่อง แต่ถึงอย่างไร ก็ยังคงตามSony ที่เปิดเผยยอดขายล่าสุด 13 ล้านเครื่องตั้งแต่ 30 กันยายน และ ทำยอดได้ 10 ล้านเครื่องตั้งแต่สิงหาคม
ศึกครั้งนี้ยังคงคู่คี่ สูสีกัน โดย Sony ก็ใช้เกมที่เปิดตัวโดยเฉพาะบน PS4 ช่วยดันยอดขายเครื่องตั้งแต่ปีที่ผ่านมา รวมทั้งการทำข้อตกลงห้ามโฆษณาเกมบางเกมบนเครื่องของ Microsoft อีก อย่างไรก็ตาม Microsoft ก็หวังว่ายอดขายช่วงวันหยุดยาวที่จะมาถึงนี้จะทะยานขึ้นไปอีก

 

ฟอร์มรายชื่อติดต่อ

ชื่อ

อีเมล *

ข้อความ *